top of page

ประวัติและที่ตั้ง

         มูลเหตุการก่อตั้ง และวันสถาปนา           เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ พรรคคอมมิวนิสต์จีนแห่งประเทศสยาม ได้จัดตั้งขึ้นโดยการแยกตัวออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์มลายู  และได้มีการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างลับ ๆ  ในหมู่กรรมกรชาวจีน ชาวไทย นักหนังสือพิมพ์  ครู  นักศึกษา  และนักเรียน ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ได้มีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ไทย ต่อมาประเทศไทยได้ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์   เนื่องจากไทยต้องการเข้าไปเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ   อีกทั้งสาธารณรัฐสหภาพโซเวียตรัสเซีย เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย  ดังกล่าวด้วย  โดยอ้างว่ากฎหมายของไทยฉบับนี้ขัดต่อปฏิญญาสากล  ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  จากผลของการยกเลิกกฏหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ทำให้คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย  สามารถดำเนินการได้อย่าง เปิดเผย  ต่อมาในสมัย     จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ผบ.ทหารสูงสุด ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และเห็นว่าการที่ฝ่ายตรงข้ามสามารถดำเนินการอย่างได้ผลในพื้นที่ชนบท เพราะความทุกข์ยากของประชาชน ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยได้รายงานให้ทราบว่าคอมมิวนิสต์ ได้จัดส่งตัวแทนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อบ่อนทำลายศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล โดยได้เริ่มปฏิบัติการในเขตที่ประชาชนด้อยการศึกษาและยากจน เจ้าหน้าที่ของรัฐดูแลไม่ทั่วถึง เพราะการคมนาคมไม่สะดวกและเป็นถิ่นทุรกันดาร ทำให้ขาดการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอให้ใช้วิธีการพัฒนาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือดำเนิน การ เพื่อขจัดปัญหาของต้นเหตุ  รวมทั้งความเห็นจากการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางความมั่นคงของ องค์การ  สปอ. ครั้งที่ ๓๓  ระหว่างวันที่ ๗ - ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ ว่าปฏิบัติการทางสาธารณะ ( Civic Action ) หรือการช่วยเหลือประชาชนเป็นการต่อต้านการบ่อนทำลายของคอมมิวนิสต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ดังนั้น เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๐๕ ผบ.ทหารสูงสุด ได้พิจารณาเห็นชอบตามข้อเสนอของฝ่ายอำนวยการ บก.ทหารสูงสุด ได้ให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นหน่วยหนึ่ง  มีอำนาจประสานการปฏิบัติงาน และรวมขีดความสามารถของส่วนราชการต่างๆ มาไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ๑๓ หน่วยงาน  มีทั้งพลเรือน  ตำรวจ และทหาร มีอำนาจสั่งการได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการปฏิบัติงานพัฒนาท้องถิ่น เป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  จึงนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี  ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้น เรียกว่า “ กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ”   ใช้คำย่อว่า “ กรป.กลาง ” เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๐๕ จากนั้นได้มีการส่งหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่หน่วยแรกออกปฏิบัติงานที่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๐๕ ใช้ชื่อเรียกหน่วยว่า “ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่  จ.กาฬสินธุ์ ”              หลังจากที่คณะรัฐมนตรีลงมติและอนุมัติให้จัดตั้ง กรป.กลาง เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๐๕ ต่อมาจึงได้กำหนดให้ วันที่ ๑๐ เมษายน ของทุกปี  เป็นสถาปนา  กรป.กลาง  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา               จากการมุ่งมั่นแก้ปัญหา  อย่างถูกทางรัฐบาลไทยประกอบกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมหาอำนาจผู้พยายาม แผ่อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในประเทศด้อยพัฒนาแถบเอเซีย  เมื่อปี 2535 ทำให้สถานการณ์การก่อการร้ายและความรุนแรงต่างๆ ในชนบทที่ห่างไกลยุติลงตามไปด้วย  แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ยังคงทำลายความสุขของพี่น้องประชาชนเหล่านั้น ยังคงอยู่นั่นคือ ความอยากจน  อันถือเป็นหน้าที่ ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องขจัดทุกข์ของประชาชนให้หมดสิ้นไป  กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้พัฒนาแนวทางการช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ของประเทศในขณะนั้น  เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น  สามารถพึ่งพาตนเองได้และนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของตนเอง  ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป                ดังนั้นในปี 2540 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีการแก้อัตราตามคำสั่ง  กองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ลับ ที่ 162/40 ลง 26 กุมภาพันธ์ 2540  ให้มีการเปลี่ยนนามหน่วยจากเดิม  กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ  หรือ กรป.กลาง หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หรือ นทพ. โดยมีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หรือ ผบ.นทพ. เป็นผู้บังคับการรับผิดชอบ  ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นท่านแรก คือ พลเอก สุนทร  ฉายเหมือนวงศ์  ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผอ.กรป.กลาง อยู่จึงถือว่าท่านเป็น ผอ.กรป.กลาง ท่านสุดท้าย และ ผบ.นทพ. ท่านแรกในคราวเดียวกัน การทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารดีขึ้นนั้น  จำเป็นต้องพัฒนาทุกๆ ด้าน พร้อมกันไป  ทั้งทางวัตถุและจิตใจอันเป็นการช่วยเหลือประชาชนตามหลักการพัฒนาชุมชน  ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือ  เพื่อให้ประชาชนช่วยตนเองได้ต่อไป  หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จึงได้ดำเนินงานพัฒนาช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นตาม 8 แผนงานหลัก ได้แก่

๑.แผนงานสร้างเส้นทางคมนาคม ถนนหนทางนับเป็น ปัจจัยสำคัญในการนำความเจริญเข้าไปสู่ท้องถิ่น พร้อม ๆ กับการนำผลผลิต ของผู้คนออกมาสู่ตลาด อีกทั้งยังเป็นปัจจัยในการดำรงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนอย่างยั่งยืนอีกด้วย ขีดความสามารถในการสร้างเส้นทางคมนาคมของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้ทวีความก้าวหน้าทันสมัยขึ้นมา เป็นลำดับ จากถนนลูกรังบดอัดแน่น (ชั้นทาง F ๖) ในอดีต จนมาเป็นถนนลาดยาง (ชั้นทาง F ๔ ) ในปัจจุบัน นับหมื่นกิโลเมตรที่ตัดผ่านป่าทึบ ยอดดอยสูงชัน หรือแม้หุบเหวลึกล้ำ ล้วนเป็นผลงานที่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เกิดความภาคภูมิใจทุกครั้งที่ได้เห็นรถของพี่น้องประชาชนขนพืชผักผลไม้วิ่ง ไปบนถนน และสะพานที่เราตั้งใจสร้างขึ้น และมอบให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของส่วนราชการในท้องถิ่น

๒.แผนงานส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์  ดังที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นถึงความต้องการปัจจัยในการดำรงชีพของพี่น้อง ประชาชนในชนบทว่า นอกจากปัจจัย ๔ แล้ว อีกประการหนึ่งก็คือ การมีอาชีพเลี้ยงตัวและครอบครัวนั้น อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ ของไทยก็คือ อาชีพทางการเกษตร ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้น อีกแผนงานหนึ่งของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ก็คือ การเกื้อกูลแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร ให้ได้ผลมากขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องเกษตรกรตามไปด้วย อาทิ การผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง เพื่อผสมเทียมให้แก่แม่โคพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร เพื่อให้ได้ลูกโคพันธุ์ผสมที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ, การผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดสนับสนุนเกษตรกร โรงเรียนและกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ และปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ, การจัดตั้งโครงการประมงหมู่บ้าน ประมงโรงเรียน รวมทั้งการผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์กล้าไม้ยืนต้น และการถ่ายทอดความรู้ ทางวิชาการเกษตรสู่พี่น้องเกษตรกร เพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ที่พอเพียงแก่การดำรงชีพ นอกจากนั้น ยังได้เริ่มดำเนินงานโครงการสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ปฏิบัติการของ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ มาตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖ เป็นต้นมา โดยร่วมมือกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน มีสหกรณ์การเกษตรในความดูแลรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำนวน ๓๕ แห่ง กระจายอยู่ ทั่วทุกภูมิภาค

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy.

Just click “Edit Text” or double click me and you can start adding your own content

and make changes to the font. Feel free to drag and drop me anywhere you like on your page. changes to the font. It’s easy.

We work with executives from:

​© 2023 by Susan Green Coaching.

Proudly created with Wix.com

  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • w-googleplus
bottom of page